บลที่4 ซอฟต์แวร์ระบบ
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software) คือ ซอฟต์แวร์ที่ช่วยในการจัดการระบบคอมพิวเตอร์จัดการอุปกรณ์รับเข้าและส่งออก การรับข้อมูลจากแผงแป้นอักขระการแสดงผลบนจอภาพการนำข้อมูลออกไปพิมพ์ยังเครื่องพิมพ์ การจัดเก็บข้อมูลเป็นแฟ้ม การเรียกค้นข้อมูลการสื่อสารข้อมูลในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการประสานงานกับซอฟต์แวร์ประยุกต์
ซอฟต์แวร์ระบบ จึงหมายถึง ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่ควบคุมการทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ต่อพ่วงต่างๆทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพซอฟต์แวร์ระบบที่รู้จักกันดี คือ ระบบปฏิบัติการ(operating System) เช่น DOS, Windows, Unix, Linux เป็นต้นรวมทั้งโปรแกรม แปลคำสั่งที่เขียนในภาษาระดับสูง เช่น ภาษา Basic, Fortran, Pascal, Cobol, C
ซอฟต์แวร์ระบบแบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ
-ระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS )
-โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
-โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utility Program)
1.ระบบปฏิบัติการ
ระบบปฏิบัติการ (Operating System :OS) เป็นซอฟต์แวร์ที่เอาไว้ใช้สำหรับควบคุมและประสานงานระหว่างอุปกรณ์ภายในคอมพิวเตอร์ทั้งหมด ตั้งแต่ซีพียู หน่วยความจำ ไปจนถึงส่วนนำเข้าและส่งออกผลลัพธ์ ( input/output device ) บางครั้งก็นิยมเรียกรวม ๆ ว่า แพลตฟอร์ม (platform ) คอมพิวเตอร์จะทำงานได้จำเป็นต้องมีระบบปฏิบัติการติดตั้งอยู่ในเครื่องเสียก่อน ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตเครื่องนั้น ๆ ว่าจะเลือกใช้แพลตฟอร์ม หรือระบบปฏิบัติการอะไรในการทำงาน เราจะพบเห็นระบบปฏิบัติการอยู่ในคอมพิวเตอร์แทบจะทุกประเภทตั้งแต่เครื่องขนาดใหญ่อย่างเครื่องเมนเฟรมจนถึงระดับเล็กสุด เช่น เครื่องคอมพิวเตอร์พกพาประเภทพีดีเอ
หน้าที่ของระบบปฏิบัติการ
1.การจองและการกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
2.การจัดตารางงาน
3.การติดตามผลของระบบ
4.การทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
5.การจัดแบ่งเวลา
6.การประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
ประเภทของระบบปฏิบัติการ(Operating System : OS )
- ระบบปฏิบัติการแบบเดี่ยว (Stand-alone OS) ให้บริการสาหรับผู้ใช้คนเดียวใช้สาหรับเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ประมวลผล และทางานทั่วไป
- ระบบปฏิบัติการแบบเครือข่าย (Network OS) มุ่งเน้นและให้บริการผู้ใช้หลายคน (multi-user)ใช้สาหรับระบบเครือข่ายโดยเฉพาะ
- ระบบปฏิบัติการแบบฝัง (Embedded OS) พบเห็นได้ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาขนาดเล็ก
-ซอฟต์ระบบบนเครื่องคอมพิวเตอร์
ความหมายของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ (Software) หมายถึง ส่วนที่มนุษย์สัมผัสไม่ได้โดยตรง (นามธรรม) เป็นโปรแกรมหรือชุดคำสั่งที่เขียนขึ้นอย่างมีลำดับขั้นตอน เพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ ซอฟต์แวร์จึงเป็นเหมือนตัวเชื่อมระหว่างผู้ใช้คอมพิวเตอร์และเครื่องคอมพิวเตอร์ ถ้าไม่มีซอฟต์แวร์เราก็ไม่สามารถใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำอะไรได้เลย

ประเภทของซอฟต์แวร์
ซอฟต์แวร์ระบบ (System Software)
เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกันและควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของระบบต่างๆ ได้แก่
เขียนขึ้นเพื่อควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์ให้ประสานกันและควบคุมลำดับขั้นตอนการทำงานของระบบต่างๆ ได้แก่
1. โปรแกรมระบบปฏิบัติการ (Operating System Program) มีหน้าที่
– จองและกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
– จัดตารางงาน
– ติดตามผลระบบ
– ทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
– การจัดแบ่งเวลา
– ประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
– จองและกำหนดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์
– จัดตารางงาน
– ติดตามผลระบบ
– ทำงานหลายโปรแกรมพร้อมกัน
– การจัดแบ่งเวลา
– ประมวลผลหลายชุดพร้อมกัน
ประเภทของโปรแกรมระบบปฏิบัติการ
1. โปรแกรมที่ทำงานด้านควบคุม (Control Programs) หมายถึง โปรแกรมที่ใช้ควบคุมการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์และอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ supervisor และ โปรแกรมควบคุมงานด้านอื่นๆ
2. ระบบปฏิบัติการของไมโครคอมพิวเตอร์ (Microcomputer Operating System หรือ OS)หมายถึงโปรแกรมที่ทำหน้าที่ประสานการทำงาน ติดต่อการทำงาน ระหว่างฮาร์ดแวร์กับซอฟต์แวร์ประยุกต์เพื่อให้ผู้ใช้สามารถใช้ Software ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และทำหน้าที่ในการจัดการ ระบบ ดูแลรักษาเครื่อง การแปลภาษาระดับต่ำหรือระดับสูงให้เป็นภาษาเครื่องเพื่อให้เครื่องอ่านได้เข้าใจ จะมีลักษณะเฉพาะโดยขึ้นอยู่กับระบบปฏิบัติการและฮาร์ดแวร์ ซึ่งจะไม่สามารถใช้งานข้ามระบบปฏิบัติการได้ โดยระบบปฏิบัติการที่ใช่กับเครื่องคอมพิวเตอร์ ได้แก่ MS-DOS, Windows 3.X, Window 95, Window 98, Window Millennian Edition, Window NT, Window 2000 Professional/Standard, Window XP, Mac OS, OS/2 Warp Client, Unix, Linux, Solaris
3. ระบบปฏิบัติการตามลักษณะการทำงาน ได้แก่ ระบบปฏิบัติการสำหรับคอมพิวเตอร์แบบ Stand-Alone, ระบบปฏิบัติการแบบฝัง, ระบบปฏิบัติการเครือข่าย, ระบบปฏิบัติการบนเครื่องคอมพิวเตอร์ขนาดใหญ่, ระบบปฏิบัติการแบบเปิด
2. โปรแกรมอรรถประโยชน์ (Utilities Program) เป็นโปรแกรมระบบอีกประเภทหนึ่งที่อำนวยความสะดวกให้ผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ในระหว่างการประมวลผลข้อมูลหรือในระหว่างที่กำลังใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ซึ่งโดยปกติแล้วโปรแกรมอรรถประโยชน์จะทำงานร่วมกับโปรแกรมระบบปฏิบัติการ เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระหน้าที่ของโปรแกรมระบบปฏิบัติการในการควบคุมการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ ของเครื่องคอมพิวเตอร์ เช่น โปรแกรมที่ทำหน้าที่จัดเตรียมเนื้อที่ในดิสก์ ทำให้สามารถบันทึกข้อมูลลงบนดิสก์ได้ หรือโปรแกรมที่อำนวยความสะดวก ในการทำสำเนาข้อมูลของโปรแกรมที่ต้องการเพื่อนำไปใช้ในที่ต่างๆ ได้หรือช่วยให้ผู้ใช้สามารถเขียนโปรแกรม สร้างแฟ้มข้อมูล หรือข้อความต่างๆ ลงในเครื่องคอมพิวเตอร์ได้เป็นต้น ตัวอย่างของโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่นิยมใช้กันได้แก่ โปรแกรม Sidekick, PC-Tool หรือ Norton Utility เป็นต้น
3. โปรแกรมแปลภาษา ( Translator) เป็นโปรแกรมซึ่งมักเขียนขึ้นมา โดยบริษัทผู้ผลิตคอมพิวเตอร์ หรือบริษัทผู้ผลิตซอฟต์แวร์คอมพิวเตอร์ เพื่อใช้ในการแปลความหมายของคำสั่งในภาษาคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในรูปที่เครื่องคอมพิวเตอร์เข้าใจและทำงานตามที่ผู้ใช้ต้องการโปรแกรมที่เขียนด้วยภาษาคอมพิวเตอร์ได้แก่ ภาษาเบสิก ภาษาโคบอล ภาษาปาสคาล หรือภาษาซี เป็นต้น โปรแกรมภาษาคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะต้องใช้โปรแกรมแปลภาษาเพื่อทำการแปลคำสั่งในภาษาเหล่านี้ให้เป็นภาษาเครื่องเสียก่อน ซึ่งภาษาเครื่องเป็นภาษาเดียวที่คอมพิวเตอร์เข้าใจ และสามารถทำงานได้ โปรแกรมแปลภาษาที่ใช้กันในปัจจุบัน แบ่งออกได้เป็น 2 แบบ คือ
1.คอมไพเลอร์ (Compiler) เป็นโปรแกรมแปลภาษาที่เขียนด้วยภาษาระดับสูง หรือซอร์สโปรแกรมให้เป็นโปรแกรมภาษาเครื่อง หรือออบเจ็กต์โปรแกรมในครั้งเดียว ในระหว่างการแปลให้เป็นภาษาเครื่องนั้นคอมไพเลอร์จะตรวจสอบความถูกต้องของการใช้คำสั่งแต่ละคำสั่งในภาษานั้นๆ ว่าถูกต้องตามกฎเกณฑ์ หลักไวยากรณ์ของภาษานั้นๆ หรือไม่ นอกจากนี้คอมไพเลอร์จะแปลคำสั่งนั้นให้เป็นคำสั่งภาษาเครื่องได้ ถ้าพบว่ามีการใช้คำสั่งไม่ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของคำสั่งนั้น (Syntax Error) คอมไพเลอร์ก็จะแจ้งข่าวสารข้อความ (Error Message) ให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบถึงข้อผิดพลาดในคำสั่ง ดังนั้นผู้เขียนโปรแกรมจะต้องแก้ไขข้อผิดพลาดต่างๆ ของโปรแกรมให้ถูกต้องตามกฎเกณฑ์ของภาษาคอมพิวเตอร์ที่เลือกใช้เสียก่อน และจะต้องทำการแปลโปรแกรมดังกล่าวทั้งโปรแกรมใหม่จนกว่าจะไม่มีข้อผิดพลาด จึงได้โปรแกรมภาษาเครื่องที่สมบูรณ์และพร้อมที่จะทำการประมวลผลต่อไปได้
2. อินเตอร์พรีเตอร์ (Interpreter) เป็นโปรแกรมแปลภาษาอีกประเภทหนึ่งที่จะแปลคำสั่งที่เขียนด้วยภาษาระดับสูงครั้งละ 1 คำสั่ง ให้เป็นภาษาเครื่องแล้วนำคำสั่ง ที่เป็นภาษาเครื่องนั้นไปทำการประมวลผลทันที หลังจากนั้นก็จะรับคำสั่งถัดไปในโปรแกรมเพื่อแปลเป็นคำสั่งภาษาเครื่อง แล้วทำการประมวลผล ทำเช่นนี้เรื่อยไปจนกว่าจะจบโปรแกรม ในระหว่างการแปลถ้าหากพบข้อผิดพลาดทางด้าน กฎเกณฑ์ของภาษาในคำสั่งที่รับมาแปล อินเตอร์พรีเตอร์ก็จะหยุดการทำงาน พร้อมทั้งแจ้งข้อผิดพลาด (Error Message) นั้นๆ ให้ผู้เขียนโปรแกรมทราบ เพื่อทำการแก้ไขให้ถูกต้อง การแปลโปรแกรมด้วยอินเตอร์พรีเตอร์ ส่วนใหญ่ไม่มีการเก็บออบเจ็กต์โปรแกรมไว้เหมือนกับคอมไพเลอร์ ดังนั้นเมื่อต้องการใช้งานโปรแกรมนั้นซ้ำอีก จำเป็นต้องทำการแปลคำสั่งใน โปรแกรมนั้นใหม่ทุกครั้ง คอมไพเลอร์จะทำการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงทั้งโปรแกรมให้เป็นภาษาเครื่อง หรือออบเจ็กต์โปรแกรมในครั้งเดียว ในการแปลนี้คอมไพเลอร์จะตรวจสอบความผิดพลาดต่างๆ ของโปรแกรมให้ด้วย และจะยอมให้ออบเจ็กต์ (Object Program) ทำงานก็ต่อเมื่อโปรแกรมได้รับการแก้ไขจนไม่มีที่ผิดแล้วอินเตอร์พรีเตอร์จะทำการแปลโปรแกรมภาษาระดับสูงเป็นภาษาเครื่อง โดยแปลทีละคำสั่งแล้วทำงานตามคำสั่งนั้นทันทีและจะหยุดการทำงานเมื่อสิ้นสุดโปรแกรม หรือเมื่ออินเตอร์พรีเตอร์พบข้อผิดพลาดในคำสั่งที่แปลนั้นๆ อินเตอร์พรีเตอร์จะไม่สร้างออบเจ็กต์โปรแกรมขึ้นมา
จุดเด่น
1.) เมื่อได้คอมพิวเตอร์มา 1 เครื่อง ยังไม่พูดถึงการต่ออินเตอร์เน็ต ในตัวเครื่องจะมีโปรแกรมต่างๆ ไว้ใช้งาน เช่น เครื่องคิดเลข ไมโครซอฟต์เวิร์ด เอ็กเซล สำหรับพิมพ์งาน ทำรายงาน จัดพิมพ์เอกสาร พิมพ์จดหมาย ออกมาสวยงาม รวดเร็ว หรือถ้าลงโปรแกรม ตกแต่งภาพอย่างโฟโต้ช็อป ก็สามารถทำภาพกราฟิก หรือโปร แกรมดรีมวีฟเวอร์ ทำเว็บไซต์ แล้วแต่โปรแกรมที่เลือกลงในเครื่อง
2.) เมื่อต่ออินเตอร์เน็ตคอมพิวเตอร์ก็เหมือนหน้าต่างโ ลก เปิดเว็บอ่านข่าวสาร มีเว็บหนังสือพิมพ์ครบทุกหัว หาความรู้ทุกเรื่องที่มีในโลกได้ทั้งไทยทั้งเทศ ใครเก่งภาษาอื่นก็มีให้อ่านทั้งจีน เกาหลี รัสเซีย ฯลฯ จะฝึกภาษา ศิลปะ ดนตรี เบื้องต้นก็หาข้อมูลได้จากในอินเตอร์เน็ต
3.) ประโยชน์ด้านการติดต่อสื่อสาร ทำธุรกิจ ถ่ายทอดความคิดเห็น แสดงตัวตน เช่น สั่งโอนเงิน ซื้อขายหุ้น ซื้อขายสินค้า โดยไม่ต้องเดินทางไปทำธุรกรรมเอง การแช็ตในห้องสนทนาตามเว็บไซต์ต่างๆ ในโปรแกรมเอ็มเอสเอ็น ยาฮูเมสเซ็นเจอร์ แคม ฟร็อก หรือแสดงความคิดเห็นในกระทู้ เขียนบล็อก ไดอารี่ เด็กหลายคนเขียนเป็นเรื่องราวน่าอ่านจนได้พิมพ์เป็นห นังสือขาย
4.) เป็นเวทีในการแสดงผลงาน งานเขียน งานฝีมือ เป็นเวทีของโอกาส ทำให้เข้าถึงข่าวสารการประกวดต่างๆ ทุนการศึกษาขององค์กรต่างๆ ที่เข้าถึงได้ง่ายทางเว็บไซต์
5.) ด้านความบันเทิง เล่นเกม ดูหนัง ฟังเพลง ร้องคาราโอเกะ
1.) กินไฟ ขึ้นกับขนาดจอและขนาดเครื่อง รวมถึงระยะเวลาที่เปิดใช้งาน นอกจากนี้ละแวกไหนไฟดับบ่ออาจใช้คอมพิวเตอร์ลำบาก เพราะระหว่างใช้งานเกิดไฟดับจะเกิดการกระชากไฟในเครื่องทำให้เสียหายได้
2.) ต้องปรับเปลี่ยนให้ทันสมัยอยู่เสมอทั้งอุปกรณ์และโปรแกรม เพราะอาจจะมีผลต่อการทำงานบางอย่างที่ต้องการความทัน สมัยและเข้ากันได้กับระบบอื่นๆการปรับเปลี่ยนแต่ละครั้งต้องเสียค่าใช้จ่าย
3.) ใช้งานนานเกินไปก็เสียสุขภาพ ทั้งรังสีที่แผ่ออกมา การจ้องหน้าจอนานๆ เสียสายตา หรือ อดหลับอดนอนเล่นเกม หรือแช็ต บางรายเพลินจนลืมกินอาหาร ส่งผลกระทบต่อการเรียนการทำงาน ทำให้เด็กเก็บตัว ไม่เข้าสังคม มีแต่เพื่อนในโลกเสมือน ทำให้เกิดปัญหาบุคลิกภาพ ต้องจัดแบ่งเวลาให้ดี
4.) เรื่องระบบความปลอดภัยของข้อมูล สมัยนี้ใครๆ ก็ติดต่อธุรกิจกันทางอินเตอร์เน็ต ซื้อขายสินค้า โอนเงินผ่านธนาคาร เล่นหุ้น จึงเกิดอาชญากรรมไซเบอร์ เช่น การล้วงข้อมูลส่วนบุคคล การต้มตุ๋นในรูปแบบต่างๆ การแฮ็กเจาะระบบที่บริษัทองค์กรใหญ่ๆ มักตกเป็นเหยื่อ หรือไวรัสคอมพิวเตอร์
5.) เนื่องจากเมื่อต่ออินเตอร์เน็ตแล้วทำให้เข้าถึงเนื้อหาได้หลากหลายทั่วโลก จึงมีเนื้อหาที่ไม่เหมาะสมปะปนอยู่มากมาย ทั้งลามก อนาจาร รุนแรง ผู้ปกครองต้องดูแลการใช้งานของเด็ก แต่ประเด็นนี้ก็มีคนพยายามแก้ปัญหาด้วยการคิดโปรแกรม ป้องกันขึ้นมาให้นำไปติดตั้งในเครื่อง ดักไม่ให้เปิดเข้าชมเว็บที่ไม่เหมาะสม ช่วยได้พอประมาณ
ซอฟต์แวร์ที่เลือกใช้
ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ (อังกฤษ: Microsoft Office) เป็นชุดโปรแกรมสำนักงาน พัฒนาโดยไมโครซอฟท์ซึ่งสามารถใช้งานได้ในระบบปฏิบัติการไมโครซอฟท์ วินโดวส์ และแอปเปิล แม็คอินทอช ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศยังมีการส่งเสริมให้ใช้บริการผ่านระบบเครื่องแม่ข่าย (Server) และ บริการผ่านหน้าเว็บ (Web Based) ในรุ่นใหม่ๆ ของไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ เราจะเรียกมันว่า ระบบสำนักงาน (Office system) แทนแบบเก่าคือ ชุดโปรแกรมสำนักงาน (Office Suite) ซึ่งการเรียกว่า ระบบสำนักงานจะรวมการทำงานกับเครื่องแม่ข่ายเอาไว้ด้วย ในวันที่ 16 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2006 ที่ผ่านมา ไมโครซอฟท์ได้ประกาศเรื่อง "ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007" ที่จะเปลี่ยนแปลงหน้าจอการใช้งาน (User Interface) และ รูปแบบไฟล์แบบ XML เป็นหลัก รุ่นเสถียรล่าสุด คือไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 2007 ซึ่งออกจำหน่ายในวันที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2550[1]

ออฟฟิศรุ่นแรก เกิดขึ้นราวยุค 90 เมื่อออฟฟิศออกสู่ตลาด ทำให้เข้ามาแบ่งส่วนตลาดส่วนหนึ่งได้อย่างง่ายดาย จุดขายหลักของ ออฟฟิศคือราคาที่ถูกกว่า และสามารถเลือกซื้อเฉพาะที่ต้องการได้อีกด้วย โดยรุ่นแรกของออฟฟิศ ประกอบไปด้วย เวิร์ด เอกเซล และพาวเวอร์พอยท์ และยังมีรุ่น "โปร (PRO)" ที่จะรวม แอคเซส และ สเคสดูลพลัส เข้าไปด้วย
ในปัจจุบันได้มีการออกโปรแกรมไมโครซอฟท์ 2010 ออกมาเพื่อให้นักพัฒนานำไปพัฒนาให้ดีขึ้น แต่ยังไม่ได้วางจำหน่ายสำหรับบุคคลที่ยาวใหญ่หมายถึงตัวสูตัวใหญ่
ล่าสุดได้ออกโปรแกรมในลักษณะเช่าเป็นรายปี ในชื่อว่า ไมโครซอฟท์ ออฟฟิศ 365
โปรแกรมอื่นๆ ที่ทำงานลักษณะเดียวกัน สามารถใช้ทดแทนกันได้ ได้แก่ LibreOffice, Apache OpenOffice
ซอฟต์ประยุกต์ที่ใช้เฉพาะ
-ซอฟต์แวร์ระบบบนอุปกรณ์สมาร์ทโฟน
ระบบปฏิบัติการบน Smartphone คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำหน้าที่เป็นตัวกลางระหว่างฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์ประยุกต์ทั่วไป การจัดสรรทรัพยากรในสมาร์ทโฟน เพื่อให้บริการซอฟต์แวร์ประยุกต์ ในเรื่องการรับส่งและจัดเก็บข้อมูลกับฮาร์ดแวร์ เช่น การส่งข้อมูลภาพไปแสดงผลที่จอภาพ การส่งข้อมูลไปเก็บหรืออ่านจากหน่วยความจำ การรับส่งข้อมูลในระบบเครือข่าย การส่งสัญญานเสียงไปออกลำโพง หรือจัดสรรพื้นที่ในหน่วยความจำ ตามที่ซอฟต์แวร์ประยุกต์ร้องขอ รวมทั้งทำหน้าที่จัดสรรเวลาการใช้หน่วยประมวลผลกลาง ในกรณีที่อนุญาตให้ซอฟต์แวร์ประยุกต์หลายๆ ตัวทำงานพร้อมๆ กัน
จุดเด่น
1.ใช้สื่อสารทางไกลได้
2.สามารถ ถ่ายภาพ ติดตามข่าวสาร ท่องอินเตอร์เน็ตได้สะดวกรวดเร็ว
3.ช่วยให้การทำงานง่ายขึ้น บางทีอาจสามารถใช้แทนคอมพิวเตอร์ได้เลย
4.พกพาสะดวก
5.สามารถขอความช่วยเหลือได้ทันทีหากเกิดเหตุด่วน
6.ช่วยเตือนความจำได้
จุดด้อย
1.ทำให้เสียอารมณ์ หากโทรศัพท์มือถือดังในช่วงที่คุณต้องการความสงบ มีสมาธิ หรือเวลาอะไรก็ตามที่คุณมีความสุข
2.อาจทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เช่น ได้ยินเสียงโทรเข้ามาซ้ำๆ
3.ทำให้เกิดอาชญากรรมอันถึงแก่ชีวิตได้ ถ้าหากโทรศัพท์ของคุณเป็นที่ต้องการของโจร
4.อาจติดโทรศัพท์มือถือจนไม่ทำอย่างอื่นเลย
5.อาจโดนล่อลวงจากคนที่รู้จักกันใน social network ได้ง่าย
ระบบปฏิบัติการ Android เป็นระบบปฏิบัติการที่ได้รับการตอบรับ และมีการพัฒนา Smartphone จำนวนมากให้รองรับการใช้งานอย่างแข็งขัน โดยเฉพาะจากผู้ผลิตยักษ์ใหญ่อย่าง HTC, LG, Motorola, Samsung และ Sony Ericsson รวมถึงบริษัทผู้ผลิตอื่นๆ อีกจำนวนมาก ภายใต้การผลักดันของยักษ์ใหญ่อย่าง Google จนมีการคาดการณ์กันว่าภายใน พ.ศ. 2555 ระบบปฏิบัติการชนิด Open Source อย่าง Android จะครองตลาดเครื่อง Smartphone ทั่วโลกในสัดส่วนที่เหนือกว่า BlackBerry และ iPhone อย่างไม่ต้องสงสัย ทั้งนี้ก็ด้วยจุดเด่นในเรื่องของการเปิดกว้างในการพัฒนาแอปพลิเคชั่น ตัวอย่างง่ายๆ เช่น Smartphone รุ่น Motoblur จากค่าย Motorola มีการพัฒนา Widget บนหน้าจอหลักให้สามารถรับข้อมูลอัพเดทใหม่ๆ จากแอปพลิเคชั่น social network ต่างๆ Android ยังมีลูกเล่นหลากสีสันบนบรรดาโทรศัพท์ Smartphone ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการสั่งการจากเสียง (Voice Control) การจัดการอัลบั้มรูปภาพในลักษณะเลื่อนซ้อน การเข้าถึงบัญชีรายชื่อโทรศัพท์อย่างรวดเร็วและหลากรูปแบบ ไม่ว่าจะต้องการติดต่อผ่านทางโทรศัพท์ ทาง SMS ทาง e-mail หรือผ่านทาง Facebook รวมถึงการนำทางโดยใช้โปรแกรม Google Maps ร่วมกับระบบชี้พิกัด GPS ที่ฝังอยู่ในตัวเครื่อง ทั้งนี้ไม่นับถึงแอปพลิเคชั่นใหม่ๆ ที่มีผู้คนทั่วโลกร่วมกันคิดค้นอีกมากมาย ซึ่งจะปรากฏขึ้นอีกในอนาคต มีโปรแกรมการใช้งานมากมาย ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการท่องอินเตอร์เน็ท การ
ใช้งานแผนที่ ดูคลิปวีดีโอ เป็นต้น
ภาพที่ 8 : ระบบปฏิบัติการ Android
ที่มา : http://www.chaiyohosting.com/android-application/
Mobile Application เป็นการพัฒนาโปรแกรมประยุกต์สำหรับอุปกรณ์เคลื่อนที่ เช่น โทรศัพท์มือถือแท็บเล็ตโดยโปรแกรมจะช่วยตอบสนองความต้องการของผู้บริโภคอีกทั้งยังสนับสนุนให้ผู้ใช้โทรศัพท์ได้ใช้ง่ายยิ่งขึ้น ในปัจจุบันโทรศัพท์มือ หรือ สมาร์ทโฟน มีหลายระบบปฏิบัติการที่พัฒนาออกมาให้ผู้บริโภคใช้ส่วนที่มีคนใช้และเป็นที่นิยมมากก็คือ ios และ Android จึงทำให้เกิดการเขียนหรือพัฒนา Application ลงบนสมาร์ทโฟนเป็นอย่างมาก อย่างเช่น แผนที่, เกมส์, โปรแกรมคุยต่างๆ และหลายธุรกิจก็เข้าไปเน้นในการพัฒนา Mobile Application เพื่อเพิ่มช่องทางในการสื่อสารกับลูกค้ามากขึ้น ตัวอย่าง Application ที่ติดมากับโทรศัพท์ อย่างแอพพลิเคชั่นเกมส์ชื่อดังที่ชื่อว่า Angry Birds หรือ facebook ที่สามารถแชร์เรื่องราวต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ความรู้สึก สถานที่ รูปภาพ ผ่านทางแอพพลิเคชั่นได้โดยตรงไม่ต้องเข้าเว็บบราวเซอร์
Mobile Application เหมาะสำหรับธุรกิจและองค์กรต่างๆในการเข้าถึงกลุ่มคนรุ่นใหม่ รวมถึงขยายการให้บริการผ่านมือถือ สะดวกง่าย ทุกที่ ทุกเวลา ตัวอย่างการประยุกต์ใช้ เช่น
Mobile Application for Real Estate : โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับอสังหาริมทรัพย์ ใช้ในการเก็บข้อมูลลูกค้า การจอง การขายบ้าน คอนโด ที่ดิน
ภาพที่1 : แอพพลิเคชั่นสำหรับอสังหาริมทรัพย์ที่มา : บริษัท เทรคอน(เว็ปไซค์)จำกัด
Mobile Application for Tourism: โมบายแอพพลิเคชั่นสำหรับการท่องเที่ยว โรงแรม บริษัททัวร์ สามารถดูข้อมูล จองที่พักได้ รวมถึงกลุ่ม MICE ที่สามารถจัดทำระบบการลงทะเบียน การชำระเงิน ข้อมูลการประชุม สัมมนา นิทรรศการ
ภาพที่2 : แอพพิลเคชั่นสำหรับการท่องเที่ยวที่มา : Colleges & Campus News
ใช้สำหรับการเรียนการสอน
- รับลิงก์
- X
- อีเมล
- แอปอื่นๆ
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น